วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด 8-9


1. ในการวางแผนองค์กร ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐานอะไรบ้าง
ตอบ
การวางแผน (Planning) เป็นการะบวนที่ช่วยกำหนดและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะดำเนินการ และวิธีปฏิบัติในอนาคตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำได้ตามกำหนดเวลาและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า การวางแผนมีทั้งแบบเชิงรุก (Proactive) และเชิงรับ (Reactive) ซึ่งองค์กรควรมีการจัดทำทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจ ก่อนที่องค์กรจะวางแผนนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ตนเอง ดังนี้ “ขณะนี้เราอยู่ที่ไหนเรากำลังจะไปที่ไหนและเราจะไปถึงที่นั้นได้อย่างไร ?
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์มีอะไรบ้าง และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กระบวนการดังกล่าวสามารถระบุจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies)ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ขององค์กร (ตามที่อธิบายไว้ในโครงร่างองค์กร) กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวคืออะไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกรอบเวลา และทำให้กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับกรอบเวลาดังกล่าว


2. การวางแผนกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
ตอบ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการกําหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่
ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทํางานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง
สําหรับการทํางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการ
ระบบการทํางานที่คล่องตัว ต้องการดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับ
การเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การของหน่วยงาน หรือ
ของธุรกิจของตนในอนาคต
การวางแผนกลยุทธ์หรือการวางแผนเชิงกลยุทธ์นี้ มีส่วนเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเป็นผู้นํา
(Leadership) หรือในการสร้างภาพลักษณ์ (Image) ที่แสดงถึงจุดเด่นของหน่วยงาน ขององค์การหรือของธุรกิจในการ
วางแผนกลยุทธ์นั้น จะมีการกําหนดเป้าหมายรวมขององค์การ สําหรับการดําเนินในอนาคต ที่เรียกว่าวิสัยทัศน์ มี
การคิดในเชิงรุก มุ่งเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะเอาความยิ่งใหญ่ เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ


3. จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสารสนเทศมาให้พอเข้าใจ
ตอบ
1. วิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์การ
 วิสัยทัศน์ : องค์การกำลังมุ่งไปในทิศทางใด
 แผนกลยุทธ์ : องค์การจะเดินไปตามทิศทางที่กำหนดไว้อย่างไร
2. ระบบสารสนเทศจะสนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์การอย่างไร
 ระบบสารสนเทศจะมีบทบาทในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์การอย่างไร
  ระบบสารสนเทศเดิมเป็นอย่างไร
 แผนระบบสารสนเทศในปัจจุบันเป็นอย่างไร
 แผนระบบสารสนเทศในอนาคตจะพัฒนาในลักษณะอย่างไร
3. ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน
 ระบบปัจจุบันได้สนับสนุนองค์การมากน้อยเพียงไร
 ระบบปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
ควรจะปรับปรุงระบบปัจจุบันอย่างไร
4. ระบบสารสนเทศที่เสนอแนะ
  หลักการและเหตุผล
  ความสามารถของระบบใหม่
 ฮาร์ดแวร์
 ซอร์ฟแวร์
 ข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล
5. กลยุทธ์ทางการบริหาร
 แผนการจัดหา
 ช่วงเวลาดำเนินการ
 การจัดโครงสร้างองค์การใหม่
การปรับปรุงระบบงานภายในองค์การ
การควบคุมทางการบริหาร
การฝึกอบรม
กลยุทธ์ด้านบุคลากร


4. วงจรพัฒนาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มี 7 ขั้นตอน
 1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition) 
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) 
3. วิเคราะห์ (Analysis) 
4. ออกแบบ (Design) 
5. สร้างหรือพัฒนา (Construction) 
6. การติดตั้งหรือการปรับเปลี่ยน (Installation, Conversion) 
7. บํารุงรักษา (Maintenance)

5. จริยธรรมหมายถึงอะไร
ตอบ
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

6. ประเด็นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ
4 ประเภท คือ
            1.) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
            2.) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
            3.) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
            4.) ประเด็นของความเข้าถึงได้ของข้อมูล (Accessibility)

7. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร และจะมีระบบรักาาความปลอดภัยอย่างไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี

ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

   1.  ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกไซเบอร์
      Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อกมัน และถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (backup)
   2.  ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์ 
 ถ้าท่านซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ให้พิจารณาข้อพึงระวังต่อไปนี้
  1)  บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
  2)  การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
  3)  การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์
  4)  การหลีกเลี่ยงสแปมเมล์
  5)  การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  6)   การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
      ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่  ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย(http://thaicert.nectec.or.th/)
นอกจากข้อควรระวังข้างต้นแล้ว ยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อการสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
           1)  การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
           2)  การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
           3)  การใช้พลังงาน




วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด


1. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของ E-Commerce คืออะไร
       E-Commerce การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นการซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

2.จงบอกประเภทของ E-Commerce มีกี่ประเภท

มี 5 ประเภท 
ประเภทของ E-Commerce   
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

3.ประโยชน์และข้อจำกัดของ E-Commerce มีอะไรบ้างจงอธิบาย

ประโยชน์ของ E-commerce

1. ไม่ต้องมีพนักงานนั่งประจำ เพราะสามารถให้บริการแบบอัตโนมัติได้

2. สามารถเปิดขายได้ตลอด 7 วัน ๆ ละ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด

3. สามารถเก็บเงิน และโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทอัตโนมัติ

4. ตอบสนองนักลงทุนได้ทุกระดับ ตั้งแต่มืออาชีพทุนหนา ไปถึงมือใหม่ทุนน้อย

5. ประหยัดค่าพิมพ์เอกสารแนะนำสินค้า เพราะรายละเอียดทั้งหมด เสนอผ่านเว็บ

ข้อจำกัดของ E-commerce 

1. ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet
ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิต
ไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้การส่งข้อมูลจึงต้องมรการพัฒนาวิธีการเข้า
รหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนเพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด

2. ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงสำหรับการ
ชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่าง
ประเทศปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี
รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงจึงทำให้ชนบทที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึง
และใช้บริการ Internet ได้

3. E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้
ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้อง
ไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี 

4. ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่นไม่มั่นใจว่าจะมี
ผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่ ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามี
ตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถ
ในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขาย
ผ่านระบบ Internet จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ 

5. ด้านรัฐบาล ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกันจะใช้กฎหมายของประเทศใด
เป็นหลักหากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้
ความยากลำบากในการติดตามการซื้อขายทาง Internet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหา
ในการเรียกเก็บภาษี เงินได้และภาษีศุลกากร การที่ E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล
ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ
E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่ม
ความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร 


4. เทคโนโลยี EDI มีความสำคัญต่อ E-Commerce อย่างไร

- เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
- ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
- สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
- ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
- เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
- เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

5. จงบอกตัวอย่างเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ B2B,B2C,C2C,B2G มาอย่างละ 2 ตัวอย่าง




ตัวอย่างเว็บไซค์ที่มีรูปแบบธุรกิจแบบB2B ตัวอย่างเว็บไซค์ที่มีรูปแบบธุรกิจแบบB2 ตัวอย่างเว็บไซค์ที่มีรูปแบบธุรกิจแบบC2C ตัวอย่างเว็บไซด์  e-Government



 6. วิธีการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยอะไรบ้างและท่านเคยใช้หรือไม่อย่างไร


     ระบบการชำระเงินหมายถึงกระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
        (1) องค์กรและบุคคล หมายถึง ผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงิน และองค์กรที่เป็นตัวกลางใน การชำระเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน เป็นต้น
        (2) กระบวนการดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ ที่กำหนดบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและบุคคลต่าง ๆ รวมถึงกลไกการชำระเงินที่เกี่ยวข้อง
        (3) สื่อการชำระเงินประเภทต่าง ๆ เช่น เงินสด ตราสารการเงิน บัตรพลาสติก การโอนเงินทางบัญชี ตลอดจนถึงการชำระเงินด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์







ข่าว IT


ข้อเท็จจริงน่ารู้ของคลื่นความถี่ 3G ในประเทศไทย


นับตั้งแต่ที่การประมูลสัมปทานความถี่การให้บริการ 3G ในบ้านเราเสร็จสิ้นไป มีคำหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้โฆษณากันอย่างแพร่หลาย นั่นคือคำว่า 3G แท้ / 3G เทียม หรือ 3G จริง / 3G ปลอม แล้วอะไรคือ 3G จริง 3G ปลอมกันล่ะ !?
ความถี่นั้นมีหลายย่าน ย่านที่ถูกใช้ในการสื่อสารยุค 1G, 2G ได้ถูกกำหนดคลื่นเอาไว้เป็นมาตรฐาน ส่วนคลื่นความถี่ 3G จะเป็นการนำคลื่นความถี่อื่นที่ยังไม่ถูกใช้งาน นำมาให้บริการเป็น 3G
คลื่นความถี่ที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ก็จะมี 850, 900, 1800 และ 2100 ซึ่งก่อนหน้านี้การซื้อโทรศัพท์สักเครื่อง เราจำเป็นต้องดูว่ารองรับ 3G คลื่นความถี่เดียวกับกับผู้ให้บริการหมายเลขโทรศัพท์ของเราหรือไม่ โดยผู้ใหบริการ 3 รายใหญ่ในบ้านเรา ในปัจจุบันจะใช้ 3G ความถี่ดังนี้ครับ
  • TruemoveH ให้บริการ 3G บนความถี่ 850MHz และ 2100MHz
  • Dtac ให้บริการ 3G บนความถี่ 850MHz และ 2100MHz
  • AIS ให้บริการ 3G บนความถี่ 900MHz และ 2100MHz
  • ToT, i-mobile 3GX ให้บริการ 3G บนความถี่ 2100MHz
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย สำหรับคนที่สงสัยว่า แล้ว 2G ก่อนหน้านี้แต่ละค่ายใช้ความถี่ไหนล่ะ? AIS ให้บริการ 2G บนคลื่น 900 (นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ 3G ของ AIS ช้ามากเพราะแย่งสัญญานกันเองกับเครือข่าย 2G แต่ตอนนี้สัญญานใหม่บนคลื่น 2100 เค้าว่าแรงแล้วนะ ) ส่วน Truemove กับ Dtac ได้ใช้คลื่นความถี่ 1800 ในการให้บริการ 2G ครับ
เราก็พอจะสรุปได้ว่า 3G ในบ้านเราก็จะมีคลื่น 850MHz กับคลื่น 2100MHz ทั้งคู่ก็เป็น 3G เหมือนกัน ทุกค่ายในบ้านเราตอนนี้สามารถให้บริการ 3G บนความถี่ 2100 ได้เหมือนกันหมด เพียงแต่มี TruemoveH ที่มีการให้บริการ 3G บนความถี่ 850MHz ด้วยเท่านั้นเอง

info

ความแตกต่างของคลื่น 3G ความถี่ 850MHz และ 2100MHz
คลื่น 850MHz สามารถส่งได้ไกลกว่า ความแรงและความครอบคลุมของพื้นที่สูงกว่า
คลื่น 2100MHz พื้นที่ครอบคลุมน้อยกว่าทำให้ต้องตั้งเสารับส่งสัญญานถี่ แต่ว่ารองรับการให้บริการ 4G ที่จะเปิดให้บริการในอนาคต
บทสรุปของ 3G ในประเทศไทย
  • 3G เป็นเทคโนโลยีของการให้บริการ ไม่ได้ผูกติดว่าจะต้องใช้กับแค่ย่านความถี่ใดความถี่หนึ่ง
  • 3G บนย่านความถี่ 850 MHz, 900 MHz หรือ 2100 MHz ก็เป็น 3G จริงทั้งหมด ไม่มีแท้ มีเทียม เพียงแต่การให้บริการ 3G บนความถี่ 2G จะทำให้แบนด์วิธไม่พอ
  • 2100 MHz เป็นเพียงคลื่นความถี่ที่ กสทช. นำมาให้ประมูลในการให้บริการ ซึ่ง TruemoveH ก็จะนำมาให้บริการทั้งเทคโนโลยี 3G และ 4G ในอนาคต

ที่มา : http://news.thaiware.com/

   

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต


การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

แนวโน้มใน ด้านบวก  

  • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
  • การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  
  • การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) 
  • การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  
  • การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 



แนวโน้มใน ด้านลบ  

  • ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 
  • การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  



ระบบปัญญาประดิษฐ์  


       
   ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของ มนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์ รับรู้ได้และตอบสนองด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมและภาษามนุษย์ 

ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ 

  • ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 
  • โครงข่าย ประสาทเทียม (Artificial Neural Network) 
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)  
  • ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)  



ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 


          ภาษาธรรมชาติกับการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบน คอมพิวเตอร์ เป็นนำวิทยาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา ธรรมชาติมาพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การประมวลผลตัวอักษร (Character) คำ (Word) ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics) 

           โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล 

เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา  
          
ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด

จุดเด่นของยูบิควิตัส ได้แก่  

  1. การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งาน จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ 
  2. การ สร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่  
  3. การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้ง สถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ  



เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการศึกษา  


          เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือ WBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning) 
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ

ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ  
         
 Virtual Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง 
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ 

นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต  
         
 นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9 หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร 

          นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้ 
 
ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี 

  1. วัสดุ ฉลาด (Smart materials) 
  2. ตัวรับรู้ หรือเซ็นเซอร์ (Sensors) 
  3. โครงสร้างชีวภาพขนาดนาโน (Nanoscale Biostructures) 
  4. คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม  
  5. คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ 



รัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์  
          
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย 

          ที่มารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของไทย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ 2 ปี ดังนี้ 

1.การให้บริการต่อสาธารณะ โดยจะผลักดันเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ  

  • การ ให้บริการข้อมูลที่ดี มีมาตรฐาน และคุณภาพแก่สาธารณะ อันได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ 
  • การให้ บริการที่ดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น 4 ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา  


2.การบริหารจัดการของรัฐ 

  • การ บริหารจัดการด้านการเงินระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ 
  • การจัดซื้อจัดจ้างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวด เร็ว โปร่งใส ยุติธรรม  
  • การ บริหารข้อมูลและทรัพยากรภาครัฐ  


3.การติดต่อสื่อสาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ 

  • ภายในและระหว่าง กระทรวง 
  • ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรส่วนท้องถิ่น  



ตัวอย่างของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 

  1. การติดตามแกะรอยคนร้าย ปัจจุบันมี 3 ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ (1) ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากร หรือ CDOS (Criminals Database Operating System) (2) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ หรือ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) และ (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย หรือ PICASSO (police Identikit: Computer Assisted Suspect Sketching Outfit) 
  2. ระบบสารสนเทศสำหรับงานประปา บริการเบ็ดเสร็จภายในคราวเดียว คือ จดมาตรจำนวนการใช้น้ำ พิมพ์ใบแจ้งหนี้ และส่งให้ลูกค้าได้ทันที โดยใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน 10 นาที ผู้ใช้บริการสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินที่สาขาของการประปานครหลวง หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ Counter Service หรือชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต  
  3. การยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ระบบได้ที่ www.rd.go.th มีบริการ 2 แบบ คือ 1. การบริการแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้ และ 2. การยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต  
  4. จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การประมูลแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไวต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ คือ www.gprocurement.go.th หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดประมูล  
  5. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอิน เทอร์เน็ต บริการด้านงานทะเบียนราษฎรผ่านทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th  และ www.khonthai.com ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง  
  6. บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ต กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เริ่มเปิดให้บริการค้นหาข้อมูลธุรกิจ และการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์  www.thairegistration.com 
  7. การบริการต่อทะเบียนรถ และชำระภาษีรถผ่านอินเทอร์เน็ต กรมการขนส่งทางบก มุ่งเน้นที่จะให้บริการประชาชนในรูปแบบออนไลน์ บริการได้ทันทีทันใด ทั่วไทย แบบ One-Stop-Service โดยสามารถเข้าไปใช้บริการผ่านเว็บไซต์ www.dlt.moct.go.th   
  8. การ จัดทำหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทาง กรมการกงศุล กระทรวงต่างประเทศ ได้เชื่อมโยงข้อมูลบุคคลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อใช้ในการตรวจสอบหลักฐานการขอทำและขอต่ออายุหนังสือเดินทาง โดยประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเป็นหลักฐานประกอบการขอทำ หนังสือเดินทางได้โดยไม่ต้องนำเอกสารมามากมายเหมือนที่ผ่านมา  



e-Citizen  
e-Citizen ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่  

  1. Citizen e-DB ฐานข้อมูลประชาชน
  2. Citizen e-ID การพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล 
  3. Citizen e-Service การบริการประชาชน 


ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 

  1. เพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานรัฐ
  2. เพิ่มคุณภาพในการบริการประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว 
  3. สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานและให้บริการ 
  4. ลดต้นทุนการดำเนินงานและการให้บริการของหน่วยงาน ภาครัฐ 
  5. . เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 


  

สรุป 

           
ในสังคมสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คนในสังคมมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คนทุกระดับอายุ เกือบทุกอาชีพ มีความต้องการสารสนเทศอยู่ตลอดเวลาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งทางตรงและทาง อ้อม เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็น ระบบปัญญาประดิษฐ์ ยูบิควิตัส การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการบริหารประเทศก็ยังมีการตั้งโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พวกเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสารสนเทศจึงควรเตรียมความพร้อมในการปรับตัว เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ การประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การพักผ่อนและบันเทิง รวมทั้งการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิตของตนเอง  

 
ที่มา : http://www.maplehack.org




วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

Database คืออะไร



Database หรือ ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ ระบบที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบมีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่ชัดเจน ในระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มที่มีข้อมูล เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและดูแลรักษาป้องกันข้อมูลเหล่านี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีซอฟต์แวร์ที่เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่าง
ผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือDBMS (data base management system)มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล 

ประโยชน์ของฐานข้อมูล
1 ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลบางชุดที่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอาจมี
ปรากฏอยู่หลาย ๆ แห่ง เพราะมีผู้ใช้ข้อมูลชุดนี้หลายคน เมื่อใช้ระบบฐานข้อมูลแล้วจะช่วยให้
ความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง
2 รักษาความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลมีเพียงฐานข้อมูลเดียว ใน
กรณีที่มีข้อมูลชุดเดียวกันปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะต้องตรงกัน ถ้ามีการ
แก้ไขข้อมูลนี้ทุก ๆ แห่งที่ข้อมูลปรากฏอยู่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติด้วย
ระบบจัดการฐานข้อมูล
2.3 การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก การ
ป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับข้อมูลระบบฐานข้อมูลจะให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น 
ซึ่งก่อให้เกิดความปลอดภัย(security) ของข้อมูลด้วย

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.comsrt.net63.net
http://www.spvc.ac.th