วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

  • ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

    นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 

1. ฮาร์ดแวร์

2. ซอฟต์แวร์

3. ข้อมูล

4. บุคลากร

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน


     ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้ 

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ 

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ 

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ 

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 

ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ


ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/homepage/page1.html

ข้อมูล และ สารสนเทศต่างกันอย่างไร


 ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ คำว่า “ข้อมูล” (Data) และ “สารสนเทศ” (Information) นั้นมีความหมายอยูว่า ข้อมูล หรือข้อมูลดิบ หมายถึงข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ครับ ส่วนข้อมูลดิบที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำและปัจจุบัน ครับ เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ
                 ส่วนข้อมูลเหล่านี้ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วเราจะเรียกว่า สารสนเทศครับ
ดังนั้นความแตกต่างระหว่างข้อมุลและสารสนเทศคือ
ข้อมูลเป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยจากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศ คือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีครับ หรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อกานำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเองครับ

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ


     ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
            
  การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ ดังที่ Kroenke และ Hatch (1994)กล่าวถึง  
            ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสเทศที่มีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้
            1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
            2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
            3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
            ปัจจุบันเทคโนโลยี MIS มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีความสำคัญต่อเราในหลายระดับที่แตกต่างจากอดีต เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและความสำคัญสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการทรัพยากรบุคคล แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ดังนั้นบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ในทุกสาขา จึงสมควรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ MIS เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในอาชีพได้
Laudon และ Laudon (1994) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการแข่งขันทางธุรกิจมี ประการคือ
         1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of the Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ของตลาด (Globalization of Markets) ที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากรทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก ธุรกิจขยาย งานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค และจากระดับภูมิภาคสู่ ระดับโลก โดยที่การขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้า และบริการอย่างเป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุม การจัดตั้ง การจัด เตรียม ทรัพยากร การผลิตและดำเนินงาน ดังนั้นองค์การธุรกิจในยุค โลกาภิวัตน์จึง ต้องมีโครงสร้าง องค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
       2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศ อุตสาหกรรม ชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นปรับตัวจากระบบ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมเข้าสู่ธุรกิจบริการ ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน เช่น การแข่งขันทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการสั้นลง ธุรกิจต้องตอบสนองและสร้างความพอใจแก่ลูกค้า เป็นต้น ทำให้ธุรกิจต้องการบุคลากรที่มี ความรู้ (Knowledge Worker) ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์การ ส่งผลให้ธุรกิจต้องพัฒนา ทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้ สารสนเทศที่ ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเป็นว่า MIS จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก ประการคือ
          
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มาไว้ด้วยกัน อย่างเป็นระบบ
         2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร

 แหล่งที่มา : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128209/1/index1.htm

3G คืออะไร , 4G คืออะไร และ 5G คืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร


1G = ยุค Analog โทรได้อย่างเดียว สมัยมือถือไม่มีจออะ หรือกระดูกหมา (สมัยนั้น Moto ครองเมือง)



2G = เปลี่ยนมาใช้ Digital เรียกใช้ยุคที่มือถือเริ่มส่ง Data ได้แล้วไม่ได้มีแค่เสียง (การส่ง SMS คือจุดเริ่มของการใช้งานข้อมูลบนมือถือ)

3G = ใช้เรียกระบบที่ทำความเร็วDataสูงสุด ไม่ต่ำกว่า 200kbit/s (0.2 Mbits/s หรือ เรียกบ้านๆก็คือความเร็ว 0.2 เม็ก น่ะแหละ)
ที่ขึ้นบนมือถือเราตัว H, H+ ก็อยู่ใน 3G นี่แหละครับครับผม H นั้นย่อมาจาก HSPA เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ใน 3G
4G = ใช้เรียกระบบที่ทำความเร็วDataสูงสุด ไม่ต่ำกว่า 100Mbits/s (ร้อยเม็ก)
5G = การที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ประจำได้นั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงสภาพปรกติในการปฏิบัติงานประจำให้ได้เสียก่อน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ สภาพเหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่จริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบพื้นที่จริง เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลง อาจสรุปได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมสายงานจะต้องเรียนรู้ และนำเอาหลัก 5G ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้
**ถึงแม้ว่า ​EDGE จะทำความเร็วได้ในระดับ 3G ก็จริง แต่ทางค่ายมือถือไม่ค่อยนิยมทำการตลาด ว่าเป็น 3G ครับ มันจะสร้างความสับสนให้กับคนทั่วไปเปล่าๆ ดังนั้น EDGE ที่มีความเร็วมากกว่าทั่วไปจะใช้ชื่ออื่นเช่น EDGE+ ของ AIS เป็นต้น
ส่วน 2.5G(GPRS) ,2.75G(EDGE) ,3.5G, 3.75G, 3.9G, อะไรพวกนั้นเป็นกลุ่มย่อยๆขึ้นมามากกว่าครับ ถ้าอธิบายตรงนี้จะวุ่นวายเปล่าๆ เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ
ให้ดูที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ จะง่ายกว่า เช่น 3G+ ของ Truemove-H จะสามารถทำงานได้สูงสุดที่ 42Mbps บน HSPA เป็นต้น

ทีนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะต้องวุ่นวายแบ่งชื่อเรียกทำไก่กาอาราเร่ทำไมในเมื่อถ้าทำบนคลื่นความถี่เดิมก็แค่ Upgrade ขึ้นไปก็จบแล้วนี่
คำตอบคือ เทคโนโลยี 2G, 3G, 4G (ที่นิยมใช้กันและจะใช้ในเมืองไทย จริงๆแล้วมีหลายแบบ) มีการใช้งานตัวอุปกรณ์ส่งสัญญาณและรับสัญญาณไม่เหมือนกันครับ
2G จะใช้เทคโนโลยี GSM
3G จะใช้เทคโนโลยี UMTS
4G จะใช้เทคโนโลยี LTE
นั่นคือทางผู้ให้บริการไม่ว่าจะ AIS เอย DTAC เอย Truemove-H เอย เวลาจะให้บริการ 2G 3G 4G พวกนี้ก็ต้องไปเปลี่ยนอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่เสาของเขา และทางเราก็ต้องมีมือถือที่รองรับด้วยครับ พูดง่ายๆคือถ้าทางผู้ให้บริการติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณแบบ LTE ขึ้นมามือถือในเมืองไทยที่เราใช้กันทุกวันนี้ ก็จะรับ 4G ไม่ได้อยู่ดี….

สรุป ความแตกต่างระหว่าง 2G 3G และ 4G

2G เริ่มแรกเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนการสนทนากันได้ทันที แต่ได้เพียงแค่เสียง รับ-ส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพขาว-ดำ ได้ในจำนวนหนึ่ง รูปแบบข้อมูลเสียงเป็นโมโนโทน มี Application ง่ายเครื่องมือการสื่อสารระบบนี้ เช่น โทรศัพท์มือถือหน้าจอขาว-ดำ เป็นต้น และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ 2.5และ2.75G ที่พัฒนา Application ที่หลากหลายมากขึ้น รับและส่งข้อมูลรูปแบบสีสันเสมือนจริง ระบบเสียงเป็นโพลีโฟนิกซ์และ mp3 เสมือนจริงตามลำดับ เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการ รับ-ส่ง และดาวโหลดข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี GPRS และ EDGE ได้ แต่ไม่สามารถดาวโหลดข้อมูลที่มีขนาดและความละเอียดที่สูงมากได้ การสนทนายังเป็นรูปแบบแลกเปลี่ยนเสียงเหมือนเดิม

3G พัฒนามาจาก 2G เครื่องมือที่รองรับมี Application ที่หลากหลายมากขึ้น รับ-ส่ง และดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลได้จำนวนมากๆ และมีความละเอียดสูง ที่สำคัญคือสามารถสนทนาและประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยคู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้ากันและกันขณะพูด เข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ต้องสมัครหรือล็อกอิน( Always on )ได้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องมือใช้งาน และเชื่อมต่อเครือข่ายได้ทุกที่ทั่วโลก
 
         4G คือ คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ 4th Generation Mobile Communications อาจจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า LTE (Long Term Evolution) แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G แต่ต่อมาได้ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเอง
      
          5G คือ การที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ประจำได้นั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงสภาพปรกติในการปฏิบัติงานประจำให้ได้เสียก่อน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ สภาพเหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่จริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบพื้นที่จริง เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลง อาจสรุปได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมสายงานจะต้องเรียนรู้ และนำเอาหลัก 5G ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้


แหล่งที่มา : www.learners.in.th/blogs/posts/361297


    2G 3G คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?


    2G 3G คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?


    2G
    การสื่อสารไร้สายยุค 2G ย่อมาจาก Second Generation คือ การสื่อสารไร้สายด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นส่งผลให้การสื่อสารด้วยเสียงมีคุณภาพเพิ่มขึ้นสูงกว่าการสื่อสารในยุค 1G ในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีในยุค 2G สามารถให้บริการการสื่อสารทางเสียง และสามารถรับ-ส่งข้อมูลแบบ (circuit-switch) ด้วยความเร็วที่ระดับ 9.6 – 14.4 Kbps ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยียุค 2G กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในระดับ 2.5G และ 3G 

    3G (Third Generation)
    3G เป็นระบบเครือข่ายไร้สายรุ่นล่าสุดที่ทำงานบนพื้นฐานของระบบ IP ( Internet Protocol ) ผ่านอุปกรณ์พกพาโดยสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 144 กิโลบิตต์ต่อวินาที หรือสูงกว่าในสภาวะการใช้งานที่หยุดนิ่งอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ในปี 2542 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู (ITU  International Telecommunications Union ) ได้ประกาศให้ระบบ 3G เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานการทำงาน 5 แบบ โดยเทคโนโลยีหลักๆ 3 เทคโนโลยีล้วนเป็นระบบซีดีเอ็มเอ ได้แก่:
    • ระบบซีดีเอ็มเอ 2000 (CDMA2000)
    • ไวด์แบนด์-ซีดีเอ็มเอ หรือ ดับบลิว-ซีดีเอ็มเอ (W-CDMA)
    • ทีดีเอสซีดีเอ็มเอ (TD-SCDMA) 


    สรุป ความแตกต่างระหว่าง 2G 3G และ 4G

    2G เริ่มแรกเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนการสนทนากันได้ทันที แต่ได้เพียงแค่เสียง รับ-ส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพขาว-ดำ ได้ในจำนวนหนึ่ง รูปแบบข้อมูลเสียงเป็นโมโนโทน มี Application ง่ายเครื่องมือการสื่อสารระบบนี้ เช่น โทรศัพท์มือถือหน้าจอขาว-ดำ เป็นต้น และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ 2.5และ2.75G ที่พัฒนา Application ที่หลากหลายมากขึ้น รับและส่งข้อมูลรูปแบบสีสันเสมือนจริง ระบบเสียงเป็นโพลีโฟนิกซ์และ mp3 เสมือนจริงตามลำดับ เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการ รับ-ส่ง และดาวโหลดข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี GPRS และ EDGE ได้ แต่ไม่สามารถดาวโหลดข้อมูลที่มีขนาดและความละเอียดที่สูงมากได้ การสนทนายังเป็นรูปแบบแลกเปลี่ยนเสียงเหมือนเดิม

    3G พัฒนามาจาก 2G เครื่องมือที่รองรับมี Application ที่หลากหลายมากขึ้น รับ-ส่ง และดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลได้จำนวนมากๆ และมีความละเอียดสูง ที่สำคัญคือสามารถสนทนาและประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยคู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้ากันและกันขณะพูด เข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ต้องสมัครหรือล็อกอิน( Always on )ได้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องมือใช้งาน และเชื่อมต่อเครือข่ายได้ทุกที่ทั่วโลก

    แหล่งที่มา : www.learners.in.th/blogs/posts/361297

    วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

    ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศ

    ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศ

    อาจจะกล่าวได้ในทางเทคนิคซึ่งจะหมายถึง กลุ่มของระบบ(system) คือกลุ่ม ขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน กลุ่มของระบบงานจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือตัวอุปกรณ์ ซึ่ง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีหน้าที่ประมวลผล รวบรวม จัดเก็บ และสนับสนุนการตัดสินใจการควบคุมภายในองค์กร และช่วยวิเคราะห์แก้ปัญหา ต่างๆ ในองค์กรด้วย  

    ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศ


    ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศ

    ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือที่นิยมเรียกว่า IT ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานหน้าที่ทางธุรกิจ ดั้งนั้นผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชาจึงสมควรต้องมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับที่มีวิสัยทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับงานตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ