วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

2G 3G คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?


2G 3G คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?


2G
การสื่อสารไร้สายยุค 2G ย่อมาจาก Second Generation คือ การสื่อสารไร้สายด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นส่งผลให้การสื่อสารด้วยเสียงมีคุณภาพเพิ่มขึ้นสูงกว่าการสื่อสารในยุค 1G ในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีในยุค 2G สามารถให้บริการการสื่อสารทางเสียง และสามารถรับ-ส่งข้อมูลแบบ (circuit-switch) ด้วยความเร็วที่ระดับ 9.6 – 14.4 Kbps ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยียุค 2G กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในระดับ 2.5G และ 3G 

3G (Third Generation)
3G เป็นระบบเครือข่ายไร้สายรุ่นล่าสุดที่ทำงานบนพื้นฐานของระบบ IP ( Internet Protocol ) ผ่านอุปกรณ์พกพาโดยสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 144 กิโลบิตต์ต่อวินาที หรือสูงกว่าในสภาวะการใช้งานที่หยุดนิ่งอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ในปี 2542 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู (ITU  International Telecommunications Union ) ได้ประกาศให้ระบบ 3G เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานการทำงาน 5 แบบ โดยเทคโนโลยีหลักๆ 3 เทคโนโลยีล้วนเป็นระบบซีดีเอ็มเอ ได้แก่:
  • ระบบซีดีเอ็มเอ 2000 (CDMA2000)
  • ไวด์แบนด์-ซีดีเอ็มเอ หรือ ดับบลิว-ซีดีเอ็มเอ (W-CDMA)
  • ทีดีเอสซีดีเอ็มเอ (TD-SCDMA) 


สรุป ความแตกต่างระหว่าง 2G 3G และ 4G

2G เริ่มแรกเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนการสนทนากันได้ทันที แต่ได้เพียงแค่เสียง รับ-ส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพขาว-ดำ ได้ในจำนวนหนึ่ง รูปแบบข้อมูลเสียงเป็นโมโนโทน มี Application ง่ายเครื่องมือการสื่อสารระบบนี้ เช่น โทรศัพท์มือถือหน้าจอขาว-ดำ เป็นต้น และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ 2.5และ2.75G ที่พัฒนา Application ที่หลากหลายมากขึ้น รับและส่งข้อมูลรูปแบบสีสันเสมือนจริง ระบบเสียงเป็นโพลีโฟนิกซ์และ mp3 เสมือนจริงตามลำดับ เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการ รับ-ส่ง และดาวโหลดข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี GPRS และ EDGE ได้ แต่ไม่สามารถดาวโหลดข้อมูลที่มีขนาดและความละเอียดที่สูงมากได้ การสนทนายังเป็นรูปแบบแลกเปลี่ยนเสียงเหมือนเดิม

3G พัฒนามาจาก 2G เครื่องมือที่รองรับมี Application ที่หลากหลายมากขึ้น รับ-ส่ง และดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลได้จำนวนมากๆ และมีความละเอียดสูง ที่สำคัญคือสามารถสนทนาและประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยคู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้ากันและกันขณะพูด เข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ต้องสมัครหรือล็อกอิน( Always on )ได้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องมือใช้งาน และเชื่อมต่อเครือข่ายได้ทุกที่ทั่วโลก

แหล่งที่มา : www.learners.in.th/blogs/posts/361297

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น